คอร์สเรียนออนไลน์

ข่าว และ บทความ


ขายที่ดินเปล่า บุคคลธรรมดา

Admin Rurobtax 0 บทความ

การขายที่ดินเปล่า ในนามบุคคลธรรมดา มีภาษีที่เกี่ยวข้อง

1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยใช้ราคาประเมินกรมที่ดิน ตามมาตรา 49 ทวิ
2.ค่าธรรมเนียม 2% ของราคาประเมินกรมที่ดิน
3.ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาประเมิน หรือราคาซื้อขายแล้วแต่อย่างใดจะสูงกว่า
4.อากรแสตมป์ 0.5% ถ้ามีธุรกิจเฉพาะจะไม่มีอากรแสตมป์ (อย่างใดอย่างหนึ่ง)
.

วิเคราะห์ประเด็น ภาษีว่าต้องเป็นบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคล ที่ไม่ใช่ติติบุคคล หรือไม่

1.นิติบุคคลจดทะเบียนเลิกบริษัท และแบ่งที่ดินให้กับผู้ถือหุ้น

การแบ่งคืนให้ผู้ถือหุ้น หมายถึงการจดทะเบียนแบ่งคืนทรัพย์ของบริษัทจำกัด คืนให้กับผู้ถือหุ้น

ตามมาตรา 1269 ตาม ป.พ.พ. โดยการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาฯ ให้แก่ผู้ถือหุ้น แม้ไม่มีค่าตอบแทน เข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาฯ ตามนิยาม คำว่า "ขาย"

 

2.ตาม ป.100/2543 ข้อ 4(2) การถือกรรมสิทธิรวมเกิดขึ้นเนื่องจากนิติกรรมซื้อขาย แยกออกเป็น

- การเข้าถือกรรมสิทธิรวม พร้อมกัน ให้เสียภาษีในนามห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล

- การไม่เข้าถือกรรมสิทธิรวม พร้อมกัน ให้แต่ละคนที่ถือกรรมสิทธิรวมเสียภาษีในนามบุคคลธรรมดา โดยแกยเงินได้ตามส่วนของแต่ละคน

 

3.ตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 ไม่ว่าจะใช้ชื่อว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล” หรือจะได้ชื่อว่า “คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล” ถือว่ามีวัตถุประสงค์ในการแบ่งปันผลกำไร

ต้องนำส่วนแบ่งกำไร ไปยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปี ตาม มาตรา 40(8)

.

สรุปประเด็น

1.การแบ่งที่ดินให้ผู้ถือหุ้น ในทางกฎหมายถือว่าเป็นการขาย ซึ่งการขายนี่แหละคือจุดเริ่มต้น

2.การถือกรรมสิทธิรวม จากประเด็นข้างต้นต้องกลับไปพิจารณา

2.1การได้มา พร้อมกัน หลังจากโอนที่กรมที่ดินแล้ว ถ้าได้มาพร้อมกันต้องต้องนำส่วนแบ่งกำไร (ยอดขายจริง - ค่าใช้จ่าย) แล้วแบ่งกำไร ไปเสียภาษีตามมาตรา 40(8)

 ซึ่งจะทำให้ให้เสียภาษีสิิ้นปีสูงถึง 35% (ซึ่งเป็นประเด็นยอดห้าร้อยกว่าล้าน )

2.2 การได้มาไม่พร้อมกัน ก็เสียในนามบุคคล เป็น Final Tax

(ว่าจะซื้อทีละส่วนทีละคนทีละวันก็จะกลายเป็นได้มา ไม่พร้อมกัน) สิ้นปีเลือกได้ว่าจะนำไปยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตาม ภงด.90 ยื่นหรือไม่ยื่นก็ได้ ตาม พ.ร.ฎ.376

 

3.เรื่องการซื้อสูง ถือเป็นความพึงพอใจในผู้ซื้อผู้ขาย เป็นเรื่องธรรมาภิบาล แต่ถ้าเอกสารครบถ้วน ถือเป็นช่องโหว่ของกฎหมายที่ สามารถใช้วางแผนภาษีตามมาตรา 49 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร

คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.100/2543 เมื่อ 24 พฤศจิกายน 2543

ข้อหารือที่อ้างอิง

https://www.rd.go.th/54370.html

https://www.rd.go.th/23493.html

 

ที่มาของข้อมูล

https://www.thansettakij.com/politics/572541

 

 

 

 

 

 

 

ที่เกี่ยวข้อง ข่าว

ยังไม่มีความคิดเห็น คุณเป็นคนแรกที่แสดงความเห็น