ภาษีธุรกิจเฉพาะ กับการกู้ร่วม (กดรูปภาพ เพื่ออ่านรายละเอียด)
การกู้ร่วม มีผลต่อภาษีธุรกิจเฉพาะ เมื่อขายกระทบถึงส่วนแบ่งกำไร
.
1.สามีภรรยาจดทะเบียนสมรส
สามีภรรยา ที่จดทะเบียนสมรส ในทางกฎหมายถือว่า "เป็นบุคคลคนเดียวกัน"
......
เมื่อถือครองอสังหาริมทรัพย์ แล้วนำชื่อเข้าอยู่ในทะเบียนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลเดียว
หรือทั้งสองคน เมื่อครบ 1 ปี จะได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ
โดยมีเงื่อนไขว่า มีชื่อในทะเบียนบ้านครบ 1 ปีหรือถือครองเกิน 5 ปี
เมื่อมีการขาย ไม่มีผลกระทบเรื่องของส่วนแบ่งกำไร
.....
2. กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส ,หรือ การกู้ร่วมระหว่าง แม่กับลูก ,พี่กับน้อง ,ฯ
กรณีสามีภรรยา ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ตามกฎหมาย ,แม่+ลูก ,พี่+น้อง,แม่+พี่+น้อง
การขายบ้านที่ กู้ร่วมกัน ที่ได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์
เข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็น "ทางค้าหรือหากำไร"
.
อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6)แห่งประมวลรัษฎากร
การกู้ร่วมกัน เมื่อมีการขายดังกล่าว จึงเข้าลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งเป็นหน่วยภาษี "แยกต่างหากจากบุคคลธรรมดา"
ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร
.
จึงต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
การมีชื่อในทะเบียนบ้านเพียงคนเดียว หรือ ทุกคน ถือเป็นเหตุส่วนตัวของบุคคล แม้ทุกคนจะมีชื่อในทะเบียนบ้านครบ 1 ปี "ไม่ได้รับยกเว้นธุรกิจเฉพาะ" ต้องถือครองเกิน 5 ปีเท่านั้น
ถึงได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ
.
ผู้ที่กู้ร่วมในทางกฎหมาย ถือเป็นเป็นหุ้นส่วนแต่ละคนต้อง "จ่ายส่วนแบ่งกำไร" นั้นรวมเป็นเงินได้มาตรา 40(8) เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การหักค่าใช้จ่ายได้ตามมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่11) พ.ศ. 2509 โดยหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรเท่านั้น
ไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา (หมายถึงเป็นส่วนแบ่งกำไรแล้วไม่มีค่าใช้จ่ายมาหัก) เสียภาษีแบบไม่สามารถหักค่าใช้จ่าย
ติดตามสาระดีๆได้ที่ รู้รอบอสังหา และภาษี
ยังไม่มีความคิดเห็น คุณเป็นคนแรกที่แสดงความเห็น